หนังสือเรื่อง “สยาม เยนเติลแมน” ปรับมาจากวิทยานิพนธ์เรื่อง “สุภาพบุรุษ” ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา ของสหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ
หนังสือบอกเล่าถึงสองนิยามความเป็น “สุภาพบุรุษ” จาก “ผู้ดี” สู่ ”ผู้ประพฤติดี” ซึ่งความน่าสนใจทั้งหมดประกอบไปด้วยประเด็นที่น่าสนใจมากมาย
ความน่าสนใจในหนังสือ “สยาม เยนเติลแมน”
1. ทำไมจึงต้องศึกษา “สุภาพบุรุษ”
2. กว่าจะมาเป็น “สุภาพบุรุษ”
– ที่มาของ “สุภาพบุรุษ”
– ความเป็นชายแบบ “สุภาพบุรุษ” ในคติตะวันตก
3. จากชายยุค “โบราณนานมา” สู่ชายยุค “สุภาพบุรุษ”
– ความเป็นชายในสยาม ก่อนการเข้ามาของ “สุภาพบุรุษ”
– การเดินทางเข้ามา “สุภาพบุรุษ” จากตะวันตกสู่สยาม
4. “สุภาพบุรุษ” กับความเป็นชาย
– “สุภาพบุรุษ” ในพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
– “สุภาพบุรุษ” ในทัศนะศรีบูรพา : การกระทำคือสิ่งที่กำหนดความเป็นสุภาพบุรุษ
5. “สุภาพบุรุษ” กับความเป็นชนชั้น
– “สุภาพบุรุษ” คือ “ผู้ (มีชาติกำเนิด) ดี” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
– “สุภาพบุรุษ” ในความหมาย “ผู้ (มีความมประพฤติ) ดี” ในทัศนะศรีบูรพา
6. “สุภาพบุรุษ” กับความเป็นชาติ
– นโยบายการสร้างชาติ สร้างชาย ในสมัยพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
– การปลูกฝังให้สุภาพบุรุษสร้างพลเมืองที่ดีให้แก่ชาติ เพื่อชาติที่เข้มแข็ง
– ความหมายของ “ชาติ” ในทัศนะศรีบูรพา
7. หลักในการเป็น “สุภาพบุรุษ”
– หลักในการเป็น “สุภาพบุรุษ” ในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
– หลักในการเป็น “สุภาพบุรุษ” ในวรรณกรรมศรีบูรพา
8. ส่งท้ายความเป็นชายแบบ “สุภาพบุรุษ”
– “สุภาพบุรุษ” ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 : การให้ความสำคัญต่อสุภาพบุรุษชนชั้นสูง สุภาพบุรุษนักรบ และสุภาพบุรุษกับความเป็นชาติ
– “สุภาพบุรุษ” ในวรรณกรรมศรีบูรพา : การเป็นสุภาพบุรุษมาจากการกระทำ ไม่ได้วัดจากชนชั้น
หัวใจของการเป็นสุภาพบุรุษที่นำเสนอผ่านพื้นที่วรรณกรรมในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและวรรณรรมของศรีบูรพา แสดงให้เห็นความคิด ค่านิยมทางสังคมช่วงนั้นอย่างไร วาทกรรมสุภาพบุรุษแฝงเร้นไปด้วยสิ่งใด และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่งผลอย่างไรต่อนิยามสุภาพบุรุษนี้
เมื่อบริบททางสังคมเปลี่ยนไป พื้นที่วรรณกรรมซึ่งทำหน้าที่บันทึกภาพเหตุการณ์ ความคิด ความเชื่อของผู้คนสมัยนั้นก็เป็นเครื่องมือหนึ่งในการศึกษาอุดมการณ์ที่แตกต่างและแฝงเร้นด้วยค่านิยม ความคาดหวัง หรืออิทธิพลบางอย่างได้
“สยาม เยนเติลแมน” นำเสนอสองนิยามความเป็นสุภาพบุรุษจาก “ผู้ดี” สู่ ”ผู้ประพฤติดี” ที่แสดงให้เห็นความคิด ความเชื่อที่ไหลเวียนในสังคมซึ่งเป็นตัวกำหนดและควบคุมการแสดงออกของสุภาพบุรุษเอาไว้ ผ่าน“สุภาพบุรุษ” ในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ฉายภาพให้เห็นความเป็นสุภาพบุรุษผ่านตัวละครชายชนชั้นขุนนางและทหารผู้กล้าหาญ และ“สุภาพบุรุษ” ในงานเขียนของนักเขียนปัญญาชนอย่างศรีบูรพาที่นำเสนอความเป็นสุภาพบุรุษผ่านตัวละครชายที่มีความประพฤติดี และยึดมั่นในคติที่ว่า “ผู้ใดเกิดมาเป็นสุภาพบุรุษ ผู้นั้นเกิดมาสำหรับผู้อื่น”
ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาจึงเป็นที่น่าศึกษาค้นคว้าเป็นอย่างมาก อย่าได้พลาดเล่มนี้ไปไว้ในชั้นหนังสือนะคะ
เครดิตภาพ : .shopat24.com
#หนังสือน่าอ่าน #สยาม-เยนเติลแมน #หนังสือดีแนะนำ