“เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง” หนังสือชุดสังคม-วัฒนธรรมร่วมสมัย ลำดับที่2

“เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง” หนังสือชุดสังคม-วัฒนธรรมร่วมสมัย ลำดับที่2

จากถ้อยแถลงของศิริพร ณ ถลาง บรรณาธิการเล่มของหนังสือเรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง บอกไว้ว่าเล่มนี้เป็นหนังสือรวมบทความวิจัย 3 เรื่องจากโครงการวิจัยย่อย 3 โครงการที่วิจัยโดยใช้ข้อมูลคติชนประเภทนิทานพื้นบ้าน/เรื่องเล่าพื้นบ้านเป็นหลัก 

มีอะไรในหนังสือ “เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง”

บทความในหนังสือประกอบไปด้วยเรื่องน่าสนใจมากมายดังนี้

1. บทนำ : เล่าเรื่อง เรื่องเล่า โดยศิริพร ณ ถลาง

เล่าถึงบริบทและวัตถุประสงค์ที่นำนิทานพื้นบ้าน / เรื่องเล่าพื้นบ้านมาใช้ในปัจจุบัน

2. เรื่องเล่าพื้นบ้านกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (OTOP) ในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของ อภิลักษณ์ เกษมผลกูล มีประเด็นการศึกษาดังนี้

– จาก  “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ถึง “คติชนสร้างสรรค์” ในสังคม: แนวคิดการบูรณาการองค์ความรู้ทางคติชนวิทยาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

– “เรื่องเล่า” กับ สินค้าที่ต้อง “เล่าเรื่อง”: กระบวนการถ่านทอด “ความเป็นพื้นบ้าน” ของสินค้าด้วยเรื่องเล่าพื้นบ้านในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย

– ความทรงจำกับของที่ระลึก: นัยยะของ “เรื่องเล่า” ที่ “เล่าเรื่อง” ผ่านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ OTOP 

– การเรียนรู้การใช้ทุนวัฒนธรรมในท้องถิ่น: โอกาสพัฒนาในการใช้เรื่องเล่าพื้นบ้านในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ท่ามกลางกระแสปรากฏการณ์ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์”

3. การประยุกต์ใช้คติชนในการสร้างวัตถุมงคลในปัจจุบัน ของ สุกัญญา สุจฉายา

– ประเภทของเรื่องเล่าที่เป็นที่มาในการประกอบสร้างวัตถุมงคล

– ความเชื่ออและพิธีกรรมใหม่ในการรประกอบสร้างวัตถุมงคล

– การนำคติชนมาประดิษฐ์สร้างเป็นวัตถุมงคลสมัยใหม่ : กรณีศึกษานิทานเรื่องสังขข์ทอง

– บทสรุปข้อสังเกตในการประดิษฐ์สร้างวัตถุมงคลในปัจจุบัน

4. การผสมผสานวัฒนธรรมในหนังสือนิทานแนว edutainment (สาระบันเทิง) ภาษาไทย ของ ศิริพร ภักดีผาสุข

– การผสมผสานวัฒนธรรมการศึกษากับวัฒนธรรมบันเทิง: ลักษณะสหวาทกรรม (interdiscursivity) ในหนังสือนิทานแนว edutainment

– การผสานวัฒนธรรมไทย-ต่างชาติในหนังสือนิทานแนว edutainment

– ลักษณะการผสมผสานวัฒนธรรมในหนังสือนิทานแนว edutainment

– ปัจจัยที่เกี่ยวข้องการผสมผสานวัฒนธรรมในหนังสือนิทานแนว edutainment

5. บทสังเคราะห์ เรื่องเล่าพื้นบ้านไทย : การนำไปประยุกต์ใช้ และ “พื้นที่ทางสังคม” ในปัจจุบัน ของ ศิริพร ณ ถลาง

– เรื่องและประเภทนิทานพื้นบ้านที่นำมาใช้ในโลกทุนนิยมวัตถุนิยมในปัจจุบัน

– วิธีคิดในการนำนิทานพื้นบ้านไทยมาใช้ในโลกทุนนิยมวัตถุนิยมในปัจจุบัน

– วิธีคิดในการนำนิทานพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้ในบริบทการท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน

– นิทานพื้นบ้าน: สู่การเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของธรรมชาติ

ทั้งหมดนี้คือความหลากหลายอย่างน่าสนใจของหนังสือเรื่อง เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง ที่รอให้ทุกคนได้ศึกษาและค้นหาเพิ่มพูนความรู้ควบคู่ไปกับความสนุกตื่นเต้นไปด้วย

#หนังสือเล่าพื้นบ้านไทย #หนังสือแนะนำ #หนังสือดีน่าอ่าน