วรรณกรรมดำดิ่ง :  บทวิจารณ์วรรณกรรมคัดสรร

วรรณกรรมดำดิ่ง : บทวิจารณ์วรรณกรรมคัดสรร

การวิจารณ์ถือเป็นเรื่องปกติสามัญและทั่ว ๆ ไปที่คนเราทำกัน แค่เรามองใครคนหนึ่งแล้วเอามาเม้ากับเพื่อในวงก็เป็นการวิจารณ์อีกรูปแบบหนึ่ง แต่การวิจารณ์ที่อยู่ในวงวิชาการหรืออยู่ในวงการศึกษาก็จะมีความหลากหลายซับซ้อนและหลากหลายแง่มุมมากขึ้น ซึ่งตัวบทสำหรับใช้ในการวิจารณ์ก็หลากหลายตั้งแต่ภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ เรื่องสั้น นิยาย หรือตามที่จะนำมาวิจารณ์กันในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งที่เป็นความนิยมกันก็คงไม้พ้นการวิจารณ์วรรณกรรมประเภทนวนิยายและเรื่องสั้น เพราะมีเผยแพร่ ทุกคนเข้าถึงง่าย ดังนั้นตัวบทประเภทนี้จึงนิยมนำมาเขียนวิจารณ์กันฃ

สำหรับคนที่ชอบเขียนวิจารณ์ก็เป็นการดีที่จะได้เผยแพร่ให้ใครต่อใครได้อ่านได้ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางหรือเพิ่มพูนความรู้ แต่สำหรับใครที่เป็นนักอ่านก็มีหนังสือรวมบทวิจารณ์หลายเล่มให้ได้ซื้อมาอ่านมาร่วมตรวจสอบความเป็นไปและความซับซ้อนในตัวบทที่เราเองก็คาดไม่ถึงหรือคิดไม่ถึงว่าจะเป็นไปในทางนี้ได้ด้วย 

วันนี้เราเลยมีหนังสือรวมบทวิจารณ์วรรณกรรมมานำเสนอ บทวิจารณ์?จะพาคนอ่านดำดิ่งไปเปิดมุมที่ซ่อนอยู่ในตัวบทนั้น ๆ หนังสือเล่มนั้นชื่อ วรรณกรรมดำดิ่ง

สำรวจความซับซ้อนของตัวบทวรรณกรรมใน “วรรณกรรมดำดิ่ง”

จากคำโปรยปกหลังของหนังสือบอกไว้ว่า “บทวิจารณ์ทั้งหมดค่อย ๆ เพิ่มระดับความลึกและดำดิ่งลงไปในตัวบทมากขึ้น ขณะเดียวกันยังชี้ชวนให้ผู้อ่านได้เห็นว่า ‘วรรณกรรม’ แต่ละเรื่องนั้นเชื่อมโยงกับ ‘โลกภายนอก’ อย่างไร ซึ่งบางบทในเล่มอาจใช้ภาษาเฉพาะตัวที่อ่านยาก มีการทดลองใช้ภาษาและการเล่าเรื่องที่สลับซับซ้อน อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์วิจารณ์ในเล่มนี้ต่างเป็นตัวแทนในยุคสมัยหนึ่งได้อย่างดี” 

บทวิจารณ์ทั้งหมดมีดังนี้

1. เล่ห์เพทุบายของ ที่อื่น

2. ศัตรูที่อยู่ใน ไผ่แดง

3. ความรักอันยอกย้อนและอาณานิคมที่ซ้อนทับใน เอแลน บาลอง และเรื่องสั้นอื่น ๆ 

4. เจ้าการะเกด กับการรื้อภาพลักษณ์ตายตัวในบริบทอาณานิคม

5. เมื่อ ‘คำนำ’ ทำให้นักแปลออกมาจากที่ซ่อน: อ่านคำนำใหม่ในงานแปลของแดนอรัญ แสงทอง

6. จากกรุงเทพฯ ถึงมะนิลา: มีอะไรในการเดินทางไป ตระเวนมะนิลา ของวิตต์ สุทธเสถียร

7. เรื่องเล่า/การเดินทาง/ผู้ชาย/ความเป็นชายในไพรัชนิยายไทย

8. “การปกครองคนไทยอย่างรู้ใจ” กับการต่อสู้ของ “ไอ้กุลี” ในรวมเรื่องสั้น เหมืองแร่

9. “ผุดเกิดมารำพัน” แว่วเสียงสนทนาในนวนิยาย ผุดเกิดมาลาร่ำ

10. มากกว่าอาการทางจิต และมิใช่เพียงความป่วยไข้ในนวนิยายเรื่อง อีกไม่นานเราจะสูญหาย

มาร่วมอ่านบทวิจารณ์เพื่อสำรวจแง่มุมที่ซุกซ่อนในตัวบทและในสังคมไปพร้อมกันกับวรรณกรรมดำดิ่ง

วรรณกรรมดำดิ่ง

ผู้เขียน จิรัฎฐ์ เฉลิมแสนยากร

พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2562 สำนักพิมพ์ กลุ่มพิมพ์

จำนวน 201 หน้า ราคา 250 บาท

#หนังสือดีน่าอ่าน #บทวิจารณ์ #วรรณกรรมดำดิ่ง