หนังสือเรื่อง ความคลุมเครือ ความเคลือบแคลง เส้นแบ่งและพรมแดนในมนุษยศาสตร์ เป็นที่น่าสนใจโดยเฉพาะสำหรับชาวมนุษยศาสตร์ เป็นบทความจากการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 10 มีทั้งหมด 13 บทความที่ถูกคัดสรรมารวมไว้ในหนังสือเล่มนี้
จากคำนำของหนังสือบอกให้ทราบว่าการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และบทความที่คัดสรรมานี้ “ต่างนำเสนอแง่มุมที่แสดงให้เห็นว่า เพื่อให้คำตอบทางมนุษยศษสตร์มีชีวิต และสามารถแสดงตัวตนในตลาดได้อย่างมีความหมาย มนุษยศาสตร์ไม่อาจเดินไปข้างหน้าเพื่อทำตัวเองให้เด่นชัดและแตกต่างจากศาสตร์อื่น ๆ หากแต่ควรเป็นการแสวงหาความเด่นชัดจากการสลายเส้นแบ่งของตัวตนกับศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น ท่าทีอันสื่อถึงความไม่ชัด ไม่แน่นอน ไม่นิ่ง และไม่ตายตัว จึงเป็นท่าทีที่ทำให้มนุษยศาสตร์สามารถค้นพบความจริงที่สาขาพึงปรารถนาอีกแบบหนึ่ง อันสุดท้ายแล้วจะทำให้สามารถทลายเส้นแบ่งและพรมแดนที่ปิดกั้นมนุษยศาสตร์ออกจากสิ่งที่เคยเข้าใจว่า ‘ไม่ใช่มนุษยศาสตร์’ จนสามารถสร้างภูมิทัศน์ทางวิชาการมนุษยศาสตร์ที่เปลี่ยนไปในสากลโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่งและเปลี่ยนแปลงได้”
ความน่าสนใจใน “ความคลุมเครือ ความเคลือบแคลง เส้นแบ่งและพรมแดนในมนุษยศาสตร์”
หนังสือประกอบด้วยบทความทั้งหมด 13 เรื่อง ดังนี้
1. เส้นแบ่งประเภทวรรณกรรมในนวนิยายเรื่อง Slow Man โดย เจ.เอ็ม.คุซซี
2. อัตลักษณ์แบบผสมผสานกลายพันธุ์ (Hybrid Identities) ของผู้หญิงมุสลิมปาตานี “สามรุ่น” ผ่านระบบการศึกษาแผนใหม่ ระหว่าง พ.ศ.2500-2525
3. กล่อมครรภ์: เมื่อครูเหลี่ยมฉีกยันต์กันผีเสนอเรื่องเพศและกามารมณ์กล่องสังคมไทย ทศวรรษ 2450-2460
4. ก่อนระบบกษัตริย์: ลัทธิผู้ก่อตั้ง จากการศึกษา เบลาะไข่ กะเหรี่ยง
5. กลายเป็นพื้นเมืองของประพันธกร: กิดลัต ตาฮิมิก และ Memories of Overdevelopment ภายใต้พหุนิยมทางวัฒนธรรมในฟิลิปปินส์
6. ประวัติศาสตร์จากจุดยืนของประชาชน: สถาบันประวัติศาสตร์แห่งชาติฟิลิปปินส์กับการเล่าเรื่องท้องถิ่นของชาติ
7. บทบาทนักเขียนสตรีเปอรานากันกับการประกอบสร้างประวัติศาสตร์ชาติสิงคโปร์
8. จาก “พม่าข้าศึก” สู่ “คนอื่นที่ไม่ใช่คนไกล”: อ่าน “เที่ยวเมืองพม่า” บนสนามความรู้อาณานิคม
9. การสร้างอัตลักษณ์และการรื้อฟื้นความทรงจำในวรรณกรรมของนักเขียนม้ง-ลาวพลัดถิ่นเรื่อง The Latehomecomer
10. การขับเคลื่อนอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามบนแนวราบทางวัฒนธรรมในสงครามเวียดนามระหว่าง ค.ศ.1945-1975
11. ระหว่างพลเมืองกับพสกนิกร: การเมืองวัฒนธรรมแห่งยอกยาการ์ตาในประวัติศาสตร์อินโดนีเซียร่วมสมัย
12. กรัมชี่ การแปลความหมายละปรัชญาว่าด้วยการปฏิวัติ
13. แนวคิดหลังความทรงจำและภูมิศาสตร์วรรณศิลป์ในนวนิยายเรื่อง The Narrow Road to the Deep North (2013) ของริชาร์ด เฟลเนอกัน
หนังสือวิจัยที่วิเคราะห์ประเด็นน่าสนใจนี้ควรค่าแก่การศึกษาและครอบครองเป็นอย่างยิ่ง
ความคลุมเครือ ความเคลือบแคลง เส้นแบ่งและพรมแดนในมนุษยศาสตร์
พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2561 สำนักพิมพ์ศยาม
จำนวน 446 หน้า ราคา 300 บาท
#หนังสือมนุษยศาสตร์ #หนังสือปรัชญา #หนังสือดีแนะนำ